หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565


ชื่อปริญญา:

วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์)      
Bachelor of Science (Computer Science)
หลักสูตรปริญญาตรี ปี 


ปรัชญาหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะในการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์และมีคุณธรรม (imCSDev)


Motto

 
สถานที่จัดการเรียนการสอน                 
           คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง 

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร     
         
ไม่น้อยกว่า 135 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป       ไม่น้อยกว่า         30    หน่วยกิต

หมวดวิชาเฉพาะ              ไม่น้อยกว่า         99    หน่วยกิต

วิชาแกน                                       14    หน่วยกิต

วิชาเอก                  ไม่น้อยกว่า         85    หน่วยกิต

       วิชาพื้นฐาน                             37     หน่วยกิต

วิชาบังคับ                               30    หน่วยกิต

        วิชาประสบการณ์วิชาชีพ                 6     หน่วยกิ

         วิชาเลือก         ไม่น้อยกว่า           12   หน่วยกิต

 

หมวดวิชาเลือกเสรี            ไม่น้อยกว่า          6    หน่วยกิต


  1. การประกอบอาชีพ

    • นักพัฒนาซอฟต์แวร์บนเว็บหรืออุปกรณ์เคลื่อนที่
    • นักพัฒนาอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
    • นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล/นักวิเคราะห์ข้อมูล
    • นักพัฒนาระบบสมองกลฝังตัว
    • ครูหรือบุคลากรทางการศึกษา
    • ผู้ประกอบการอิสระ

    คุณลักษณะของบัณฑิต

    1  มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีจรรยาบรรณในการใช้งานคอมพิวเตอร์

    2  เข้าใจหลักการและทฤษฎีทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ บูรณาการความรู้และแนวคิดเชิงคำนวณไปใช้ในการเขียนขั้นตอนวิธีหรือโปรแกรมเพื่อหาวิธีการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์

    3  มีสมรรถนะในการวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาแอปพลิเคชันบนเว็บและแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้

    4  สามารถประเมินและเลือกเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงที่มีความปลอดภัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

    5  สามารถสร้างผลงานหรือนวัตกรรมที่นำไปแก้ไขปัญหาพื้นฐานของชุมชุมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการพัฒนาแอปพลิเคชันบนเว็บหรือแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่กับอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ในรูปของการทำโครงงานวิจัย และฝึกปฏิบัติการทางวิชาชีพ

    6 ทำงานร่วมกับบุคคลอื่นและทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการรวบรวม เสนอแนะ และนำเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้งานบรรลุผล

    7 พัฒนาตนเองทางวิชาการและวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง เพื่อการปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ในยุคดิจิทัล

    8 สามารถเลือกใช้เครื่องมือ สารสนเทศ และเทคโนโลยี ในการสื่อสารในรูปแบบการพูดและการเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

     

    คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา 

    • สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าในสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือศิลป์-คณิตศาสตร์หรือ
    • สำเร็จการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์ 
    • คะแนนรวมไม่น้อยกว่า 2.00

    ค่าธรรมเนียมการศึกษา
         เหมาจ่าย ภาคเรียนละ 13,500 บาท

    ทุนการศึกษา

    • ทุนการศึกษาแบบให้เปล่าจากมูลนิธิต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย
    • ทุนการศึกษาแบบให้เปล่าจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ทุนเทสโก้โลตัส ทุนอายิโน๊ะโมะโต๊ะ ทุนเจริญโภคภัณฑ์ เป็นต้น
    • ทุนจากกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา
    • ทุนจ้างงานของคณะและมหาวิทยาลัย

    การจัดการเรียนการสอน

    • บรรยายองค์ความรู้ทางวิชาการและจากผลงานวิจัยของอาจารย์ ถ่ายทอดประสบการณ์ทางวิชาชีพจากวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญจากองค์กรภาครัฐและเอกสาร รวมถึงปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชน 
    • เรียนรู้แบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เช่น การใช้กรณีศึกษา การกำหนดสถานการณ์เพื่อให้นิสิตร่วมกันหาคำตอบ การให้ผู้เรียนค้นหาความรู้เพิ่มเติม นำเสนอแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การทำงานกลุ่มในฐานะผู้นำและผู้ตาม 
    • แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการอภิปราย
    • ฝึกทักษะปฏิบัติจากโจทย์ปัญหา
    • ทำงานกลุ่มในรูปของกรณีศึกษาในรายวิชา โดยจะต้องวิเคราะห์ ออกแบบ พัฒนา และนำเสนอผลงาน
    • จัดทำโครงงานที่เกิดประโยชน์ต่อชุมชนหรือหน่วยงาน และพัฒนาแอปพลิเคชันให้เป็นไปตามข้อกำหนดและใช้งานได้จริง
    • ฝึกประสบการณ์วิชาชีพในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน 

    รายละเอียดโดยย่อ >>คลิก<<