คณะวิทยาศาสตร์ ยกทีมนักวิจัย แสดงผลงานวิจัยภายใต้ ”ศูนย์วิจัยชุมชนปลากดหัวโม่ง“ ในมหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค ประจำปี 2566 ครั้งที่ 12 โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
อ่าน : 120

: 10 เดือนที่แล้ว

คณะวิทยาศาสตร์ ยกทีมนักวิจัยแสดงผลงานวิจัยภายใต้”ศูนย์วิจัยชุมชนปลากดหัวโม่ง “
ใน“มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค (Regional Research Expo)” ครั้งที่ 12 ในปี พ.ศ. 2566
ภายใต้แนวคิด “วิจัย นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ภาคใต้โมเดล”
.
วันที่ 28-30 มิถุนายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช
.
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ นำโดย ผศ.ดร.นพมาศ ปักเข็ม คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ผศ.อานุช คีรีรัฐนิคม ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและการประกอบการ ผศ.ดร.สุภฎา คีรีรัฐนิคม หัวหน้าศูนย์วิจัยชุมชนปลากดหัวโม่ง มหาวิทยาลัยทักษิณ และบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมจัดแสดงผลงานวิจัยศูนย์วิจัยชุมชนปลากดหัวโม่ง ซึ่งได้ดำเนินงานตั้งแต่เดือนกันยายน 2565 ถึง กรกฎาคม 2566 โดยมีแนวคิดในการรวบรวมองค์ความรู้ นำมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับความต้องการ และสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น และการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนในพื้นที่ทะเลสาบสงขลาเพื่อก่อให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรปลากดหัวโม่ง และมีแนวปฏิบัติในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรปลากดหัวโม่งอย่างยั่งยืนของชุมชนประมง ตลอดจนเพื่อสร้างทักษะการแปรรูปปลากดหัวโม่ง และเกิดกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มสู่เชิงพาณิชย์และยกระดับศักยภาพธุรกิจของชุมชนผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ปลากดหัวโม่งในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
.
การดำเนินงานของโครงการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมสู่การใช้ประโยชน์ทรัพยากรปลากดหัวโม่งอย่างยั่งยืนแบ่งเป็น 3 ประเด็น ได้แก่ การถ่ายทอดเทคโนโลยีในด้านชีววิทยาและการจัดการทรัพยากรปลากดหัวโม่งในธรรมชาติเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการแปรรูป และแนวทางการพัฒนากระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมงจากปลากดหัวโม่งที่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์การอาหาร และการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการตลาดให้กับชุมชนที่ประกอบอาชีพแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมงจากปลากดหัวโม่ง
.
ในงานเดี่ยวกันนี้ ผศ.ดร.สุภฎา คีรีรัฐนิคม หัวหน้าศูนย์วิจัยชุมชนปลากดหัวโม่ง มหาวิทยาลัยทักษิณ ยังร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างตัวแทนจากศูนย์วิจัยชุมชนในภาคใต้อีกด้วย
.
#ปลากดหัวโม่ง
#ศูนย์วิจัยชุมชนปลากดหัวโม่ง
#สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
#RegionalResearchExpo2023
#มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค
#เรียนวิทย์ใกล้ชิดธรรมชาติ
#SciTSU
#คณะวิทยาศาสตร์
#SciNEXT
#TSUEnterToWin
#มหาวิทยาลัยทักษิณ












เขียนโดย กรกฎ เพชรทรัพย์

เจ้าหน้าที่บริหารงาน
  พท2002